0
การที่จะได้มาของชื่อ "ตำบลลิพัง" นั้น ตามตำนานเล่ามาว่า ในสมัยก่อนนานมาแล้ว คือหมายถึงสมัยประเทศสยามหรือไซแอม ทำสงครามกับชาวมลายู อินโนร่วมกัน(ประเทศไทยกับมาเลเซียและอินโดนีเซียปัจจุบัน) มีเรื่องเล่ามายืดยาวก่อนที่จะมาเป็นตำบลลิพัง และตำบลลิพังนี้ ได้ความหมายมาจากช้างพังเชือกหนึ่ง ที่มีมูลค่ามหาศาล ดังจะกล่าวสรุปดังต่อไปนี้
ในสมัยก่อน คือหมายถึงสมัยไซแอมทำสงครามกับรัฐมลายู เขาเรียกว่าสงครามคูค่าย เขาใช้ช้างเป็นพาหนะ ในขณะนั้นได้มีทหารกลุ่มหนึ่งของชาวมลายูแตกทัพหนีเพื่อเอาตัวรอด ณ หุบเขาแห่งหนึ่ง โดยการนำของหัวหน้าชุดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้อาวุโสที่เคร่งทางด้านสัจธรรมอิสลาม ชาวชนบทมลายูเรียกเขาว่า"โต๊ะละใบ" แต่ในแผ่นดินไซแอม(สยาม) เรียกสั้น ๆ ว่า โต๊ะใบ หรือ โต๊ะเฉย ๆ ก็มี ท่านผู้นี้เป็นนายทหารกองช้างสมัยนั้น ไม่มีผู้ใดทราบชื่อจริงของท่านเลย ซึ่งได้แตกทัพหนีภัยสงครามครั้งนั้นพร้อมลูกแถวของท่านจำนวนหนึ่ง อพยพเข้ามาซุ่มซ่อนตัวอยู่ในดงดิบที่เต็มไปด้วยขุนเขา
โดยครั้งแรกท่านได้เข้ามายึดเขาลูกเล็ก ๆ ลูกหนึ่ง ที่มีถ้ำอยู่ด้วย พอได้อาศัยหลบแดดหลบฝนแห่งเขาลูกนั้น ท่านได้ปฏิบัติภารกิจทางศาสนาอิสลาม เป็นกิจวัตรประจำวันในนั้นตลอดมา ถ้ำลูกนี้อยู่ใกล้กับลำคลองสายหนึ่งที่เต็มไปด้วยต้นลำพัง ปัจจุบันเรียกว่าคลองพัง ในกลุ่มที่อพยพหลบหนีมาซุ่มอยู่ที่ดังกล่าว ได้มีช้างพังมาด้วยเชือกหนึ่ง ช้างเชือกนี้มีชื่อตามภาษามะลายูอินโดนีเซียว่า "มาลีพัง" แปลออกมาเป็นภาษาไทยได้ความว่า "แม่นางขุมทรัพย์" ตามตำนานเล่ามาว่าในช้างเชือกนี้ เขาได้ฝังเพชร,พลอย,ทองคำ เอาไว้ในตัวช้างมีมูลค่ามหาศาล นั่นแหละเขาจึงเรียกว่า "แม่ขุมทรัพย์" ตามภาษาของเขา
ต่อมาพวกเขาเหล่านั้น ก็ได้ทำบ้านอยู่อาศัยใกล้ ๆ บริเวณภูเขาลูกนั้น โดยเฉพาะทางทิศใต้ของเขาลูกนั้นเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างบ้าน เขาเรียกว่า บ้านโหละ ส่วนถ้ำที่เป็นจุดแรกที่เข้ามาพักนั้นเขาเรียกว่า ถ้ำโต๊ะพัง โดยให้ชื่อตามผู้อาวุโสที่นำช้างพังมาคุ้มครองถนอมเลี้ยงอยู่ ณ จุดนั้นเป็นครั้งแรกเมื่อทั้งหมดได้ทำการสร้างบ้านเรือนอยู่กันมาชั่วระยะหนึ่ง ท่านผู้เฒ่าเจ้าของช้างก็ได้ถึงแก่กรรมลง เขาก็จัดการตามประเพณีของศาสนาอิสลาม ลูกหลานของท่านเรียกท่านว่า ทวดโต๊ะพัง ในฐานะที่ท่านเป็นคนแรกซึ่งได้นำทีมมาตั้งบ้านแห่งนี้ ส่วนช้างเชือกนี้ทายาทของท่านเป็นผู้รับผิดชอบเลี้ยงดูสืบแทนท่านต่อไป แต่เขาเหล่านั้นไม่ทราบว่าช้างเชือกนั้นมีค่ามหาศาลในสมัยนั้น
ต่อมาหลังจากภัยสงครามสงบลง ทางรัฐมลายูได้รวบรวมกองกำลังช้าง-ม้า ปรากฏว่าช้าง
พังเชือกหนึ่งที่มีราคาสูงสุดได้สูญหายไปทั้งช้างและคน ตรงกับกลุ่มคนที่อยู่กับช้างที่ชื่อว่า "มาลีพัง" แม่นางขุมทรัพย์นั่นเอง ดังนั้นทางรัฐมลายูผู้บัญชาการเหล่าทัพส่งทหารนอกเครื่องแบบสืบหาช้างเชือกนั้นเป็นเวลานานนับปีอย่างท้อถอย ในที่สุดก็ได้รับทราบข่าวว่า ช้างเชือกดังกล่าวได้ตกอยู่ที่หุบเขากลางดงดิบแห่งหนึ่ง
ทางฝ่ายรัฐมะลายูจึงได้สั่งทหารจำนวนหนึ่งมารับช้างเชือกดังกล่าวกลับไปส่งประเทศโดยดี หากเอากลับไม่ได้ด้วยสันติวิธี ก็ให้ฆ่าช้างเชือกนั้น แล้วให้เอาทรัพย์ที่ฝังอยู่ในช้างให้หมดทุกจุด แต่ห้ามทำลายล้างผู้คนอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะกลับประเทศหรือไม่ เมื่อพวกทหารได้รับคำสั่ง ผู้บังคับบัญชาก็ออกเดินทางมายังหุบเขาดังกล่าว ก็ได้ทำการเจรจากับกลุ่มที่ครองช้างอยู่ขณะนั้น เขาจึงคืนช้างให้โดยดีโดยที่เขาไม่ทราบว่าในตัวช้างนั้นมีทรัพย์มูลค่ามหาศาล แต่ในที่สุดช้างเชือกนั้นไม่ยอมกลับไปกับพวกที่มารับ มีการแสดงออกลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับว่ามันจะอยู่ร่วมชีวิตในแผ่นดินเดียวกับที่โต๊ะนำเขามา มันจึงโกรธผู้มารับมากถึงกับอาละวาดกับทุกคนที่มารับ ในที่สุดมันก็สู้ไม่ได้จึงหนีเข้าไปซุ่มตัวอยู่ในถ้ำเขาติงใกล้ ๆ กับที่ตั้งทวดโต๊ะพังปัจจุบัน ตอนนั้นมาลีพังหรือแม่นางขุมทรัพย์หมดหนทางหนีอีกแล้ว มันจึงถูกฆ่าตายที่ในถ้ำเขาติง
เมื่อมันตายลงแล้ว มันจึงถูกตัดออกเป็นสองท่อน คือท่อนหัวและท่อนหาง ทุก ๆ ท่อนถูกเชือดเฉือนเป็นหลาย ๆ จุด สรุปว่าทุกจุดที่ทองคำ,พลอย,เพชรฝังอยู่ในตัวช้างนั้นได้ทรัพย์เหล่านั้น พวกเขานำกลับประเทศของเขาไป เหลืออยู่แต่ซากช้างทั้งสองท่อนตั้งอยู่ในถ้ำเขาติงคนละแห่งกัน มีง่อนหินเป็นจุดหมาย ตรงท่อนหัวของช้าง ชาวบ้านเรียกง่อนนั้นว่า"หัวช้าง" อีกท่อนหางอยู่ห่างออกไปมากมีง่อนหินอยู่อันหนึ่งเป็นจุดหนึ่งตรงท่อนหางช้างตั้งอยู่ ชาวบ้านเรียกว่า "ท้ายช้าง" ทั้งสองแห่งง่อนหินที่ชาวบ้านเรียกว่า "หัวช้างและท้ายช้าง" สมัยก่อน ๆ ง่อนหินทั้งสองมีความศักดิ์สิทธิ์ต่างกัน ตามตำนานเล่าว่า ถ้าหากผู้ใดเอาไม้หรือก้อนหินไปเคาะหัวช้างฝนจะตกลงมา หากฝนตกมากเกินจะทำให้น้ำท่วมบ้านเรือนก็ให้เอาไม้หรือหินไปเคาะที่ท้ายช้างฝนก็จะหยุดตกไปเลย แต่ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะศักดิ์สิทธิ์แพ้คนพาลไปนานแล้ว เหลืออยู่แต่ง่อนหินหัวช้างและท้ายช้างเท่านั้น
หลังจากนั้นมาคนที่นั่นเกิดเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา มีคนอพยพเข้ามาทำนา ทำสวนเรื่อย ๆ มากขึ้นจนกระทั่งได้แยกเป็น 2-3 หมู่บ้าน จึงมีฐานะเป็นตำบล จึงให้ชื่อตำบลเพี้ยน ๆ มาจากช้างพังที่มีชื่อว่า "มาลีพัง" (แม่นางขุมทรัพย์) มาเป็นตำบลลิพัง ตราบจนปัจจุบันนี้
สรุป ตำบลลิพัง มาจากช้างพังเชือกหนึ่ง ไม่ใช่มาจากต้นลำพังที่ริมคลอง ฉะนั้นชาวตำบลลิพัง จึงตั้งตราประจำตำบลลิพังเป็น รูปช้าง เป็นสัญลักษณ์ของตำบลลิพังสืบไป
0
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
เนื้อที่ พื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๗๙,๓๗๕ ไร่ หรือ ๑๒๗ ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลทุ่งยาว, ตำบลแหลมสอม, ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล และอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน และทะเลอันดามัน
แผนที่แสดงอาณาเขตตำบลลิพัง
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะพื้นที่เป็นเนินสูง ทางทิศตะวันออกและทิศเหนือเป็นที่ราบสูงและเนินสูงทิศตะวันตกและทิศใต้เป็นที่ราบลาดลงมาจากเทือกเขาบรรทัดจดป่าชายเลนทะเลอันดามัน
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะเริ่มร้อนและอากาศจะร้อนจัดที่สุดในเดือนมีนาคมและเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนัก
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ฝนตกมากช่วงในเดือนกันยายน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อากาศจึงไม่หนาวเย็นมากนัก และจะมีฝนตกด้วย
1.4 ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไป หมู่ที่ 5,6 เป็นดินร่วน ส่วนหมู่ที่ 1,2,3,4,7 เป็นดินทรายปนดินเหนียว
2. ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง มีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านลิพัง
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งปาหนัน
หมู่ที่ 3 บ้านท่าคลอง
หมู่ที่ 4 บ้านคลองแร่
หมู่ที่ 5 บ้านท่าเขา
หมู่ที่ 6 บ้านหินจอก
หมู่ที่ 7 บ้านทางสาย
2.2 การเลือกตั้ง
เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลได้แบ่งเขตการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลิพังและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง แบ่งเขตการเลือกตั้ง ออกเป็น 7 เขต ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ ๑ บ้านลิพัง
เขตเลือกตั้งที่ ๒ บ้านทุ่งปาหนัน
เขตเลือกตั้งที่ 3 บ้านท่าคลอง
เขตเลือกตั้งที่ 4 บ้านคลองแร่
เขตเลือกตั้งที่ 5 บ้านท่าเขา
เขตเลือกตั้งที่ 6 บ้านหินจอก
เขตเลือกตั้งที่ 7 บ้านทางสาย
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลิพังส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานองค์การบริหารส่วนตำบล เสนอแนะในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในการดำเนินงานต่างๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. ๒๕56)
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 4,239 คน
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 4,213 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ครั้งล่าสุด (พ.ศ. ๒๕56)
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3,709 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 4,239 คน คิดเป็นร้อยละ 87.00
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล 3,689 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 4,213 คน คิดเป็นร้อยละ 87.57
3. ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 6,476 คน แยกเป็นชาย 3,196 คน หญิง 3,280 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 51 คน/ตร.กม. จำนวนครัวเรือน 2,108 ครัวเรือน
จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้านและเพศและจำนวนครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2562)
หมู่ที่/ชื่อบ้าน |
ชาย(คน) |
หญิง(คน) |
รวม(คน) |
จำนวนครัวเรือน |
1.บ้านลิพัง 2.บ้านทุ่งปาหนัน 3.บ้านท่าคลอง 4.บ้านคลองแร่ 5.บ้านท่าเขา 6.บ้านหินจอก 7.บ้านทางสาย |
460 435 386 402 745 317 451 |
490 425 441 401 701 333 489 |
950 860 827 803 1,446 650 940 |
290 315 222 295 ๔74 220 292 |
รวม |
๓,196 |
3,280 |
6,476 |
2,108 |
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอปะเหลียน
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2562)
ช่วงอายุ |
ชาย(คน) |
หญิง(คน) |
รวม(คน) |
---|---|---|---|
แรกเกิด - 9 ปี |
483 |
516 |
999 |
10 ปี - 19 ปี |
472 |
485 |
957 |
20 ปี - 29 ปี |
535 |
564 |
1099 |
30 ปี - 39 ปี |
555 |
477 |
1032 |
40 ปี - 49 ปี |
444 |
468 |
912 |
50 ปี - 59 ปี |
383 |
383 |
766 |
60 ปี - 69 ปี |
197 |
221 |
418 |
70 ปี - 79 ปี |
90 |
90 |
180 |
80 ปี ขึ้นไป |
34 |
75 |
109 |
รวม |
3,193 |
3,279 |
6,472 |
ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอปะเหลียน
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรอายุ ๑๕ – ๖๐ ปีเต็ม ร้อยละ ๙๙ อ่าน เขียนภาษไทยและคิดเลขอย่างง่ายได้ เด็กอายุ ๖ – ๑๔ ปี ร้อยละ ๑๐๐ ได้รับการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ หรือเทียบเท่า และที่ไม่ได้เรียนต่อมีงานทำ ร้อยละ ๙๙ ด้านการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ปัญหาคือ ยังไม่สามารถที่จะแข่งขันกับเมืองใหญ่ๆ ได้ การแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดกิจกรรมให้กับเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การสนับสนุนอาหารเสริมนม อาหารกลางวัน ในหับทางโรงเรียนในเขตพื้นที่ และร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ กับทางโรงเรียน
การศึกษา ข้อมูล ณ ปัจจุบัน
- โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านลิพัง หมู่ที่ 7, โรงเรียนบ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2, โรงเรียนบ้านเขาติง หมู่ที่ 5 และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอก หมู่ที่ 6
- ศูนย์เด็กเล็ก 3 แห่ง (ศูนย์เด็กเล็กบ้านลิพัง หมู่ที่ 7, ศูนย์เด็กเล็กบ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2 , ศูนย์เด็กเล็กบ้านท่าเขา หมู่ที่ 5)
4.2 สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
4.3 อาชญากรรม
องค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง มีเหตุการณ์ขโมยทรัพย์สินประชาชน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลลิพังก็ได้ดำเนินการดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่าส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี วิธีป้องกันอุบัติเหตุ อาชญากรรม ของององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถดำเนินการได้ตามอำนาจและงบประมาณอย่างจำกัด ติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดสารธารณะ รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลลิพังได้มี ศูนย์ อปพร.ตำบลลิพัง และรถกู้ชีพ อบต.ลิพัง เพื่อระงับเหตุเมื่อเกิดเหตุภัยอันตราย ทั้งนี้ยังมีความร่วมมือสายตรวจตำบลลิพังช่วยตรวจตราอีกด้วย
4.4 ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในเขตองค์การบริการส่วนตำบลลิพัง จากข้อมูลสถานีตำรวจภูธรปะเหลียนพบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง ในเขตตำบลลิพังมีผู้ติดยาเสพติดเมือเทียบกับที่อื่นว่าน้อยเหตุผลก็เนื่องจากการร่วมมือกับผู้นำ ประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลลิพังช่วยกันสอดส่องดูแลเป็นประจำ การแก้ไขปัญหายาเสพติดองค์การบริหารส่วนตำบลลิพังทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การรณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน และเยาวชนเท่านั้น หากนอกเหลืออำนาจก็ให้ความร่วมมือกับทางอำเภอและสถานีตำรวจมาโดยตลอด
4.5 การสังคมสงเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังนี้
๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
4. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
จำนวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้พิการตำบลลิพัง (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2562)
หมู่ที่ |
ผู้สูงอายุ (คน) |
ผู้ป่วยเอดส์ (คน) |
ผู้พิการ (คน) |
หมู่ที่ ๑ |
112 |
4 |
22 |
หมู่ที่ ๒ |
116 |
2 |
29 |
หมู่ที่ ๓ |
67 |
6 |
15 |
หมู่ที่ ๔ |
105 |
- |
22 |
หมู่ที่ ๕ |
135 |
2 |
31 |
หมู่ที่ ๖ |
59 |
1 |
20 |
หมู่ที่ ๗ |
100 |
2 |
25 |
รวม |
694 |
17 |
164 |
5. ระบบการบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
- ถนนลาดยาง(สายหลัก คือสายทางหลวงหมายเลข ๔๑๖ ตรัง-สตูล) จำนวน 1 สาย
- ถนนสายรอง(ลาดยาง) จำนวน 7 สาย
- ถนนลูกรัง จำนวน 25 สาย
- ถนนคอนกรีต จำนวน 22 สาย
- ถนนหินคลุก จำนวน 1 สาย
- ถนนหินผุ จำนวน 4 สาย
5.2 การไฟฟ้า
การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ปัจจุบันในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีไฟฟ้าใช้ ดังนี้
(๑) ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 2,033 หลังคาเรือน
(๒) ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 219 จุด
5.3 การประปา
ประปาจำนวน 17 แห่ง
 ประปาตามพระราชดำริ 2 แห่ง (หมู่ที่ 5,6)
 ประปาอนามัย 1 แห่ง (หมู่ที่ 3)
 ประปาหอถังสูง 14 แห่ง
- หมูที่ 1 จำนวน 1 แห่ง
- หมูที่ 2 จำนวน 3 แห่ง
- หมู่ที่ 3 จำนวน 3 แห่ง
- หมู่ที่ 4 จำนวน 2 แห่ง
- หมู่ที่ 5 จำนวน 2 แห่ง
- หมู่ที่ 7 จำนวน 3 แห่ง
จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 2,033 หลังคาเรือน
ปริมาณการใช้น้ำประปาเฉลี่ย 4,066 ลบ.ม. ต่อวัน
5.4 โทรศัพท์
มีเสารับสัญญาณโทรศัพท์ 4 แห่ง
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ในตำบลลิพังไม่มีธุรกิจให้บริการไปรษณีย์และการขนส่ง
6. ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรตำบลลิพังส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร สวนยางพารา และอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้าง ประมง และค้าขาย เป็นส่วนน้อย
6.2 การประมง
ในองค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง มีพื้นที่ติดกับทะเลอันมันประชากรบางส่วน ประมาณ 6.00% ทำการประมงแต่ไม่ใช่เป็นอาชีพหลักเป็นอาชีพเสริมหลังจากการทำสวนยางพารา
6.3 การปศุสัตว์
6.4 การบริการ
ห้องพัก 1 แห่ง
ร้านเกมส์ 1 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว
แหลมทวด หมู่ที่ 2
ถ้ำเลคลองวังกล้วย หมู่ที่ 3
ถ้ำลอดเขาติง หมู่ที่ 5
น้ำตกธารกระจาย หมู่ที่ 5
น้ำตกคลองลิพัง หมู่ที่ 5
น้ำตกห้วยแทงแม่ หมู่ที่ 5
น้ำตกคลองหินแดง หมู่ที่ 5
น้ำตกหนานดิน (60 ชั้น) หมู่ที่ 5
น้ำตกวังแก้ว หมู่ที่ 6
น้ำตกอุไรวรรณ หมู่ที่ 6
ถ้ำพระ หมู่ที่ 6
ถ้ำลอด หมู่ที่ 6
6.6 อุตสาหกรรม
โรงน้ำยาง ๑ แห่ง (หมู่ที่ 1)
โรงรมทำยางแผ่น 1 แห่ง (หมู่ที่ 7)
โรงงานปูนซีแพ็ค 1 แห่ง (หมู่ที่ 2)
โรงงานท่อซีเมนต์ 1 แห่ง (หมู่ที่ 2)
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
การพาณิชย์
สถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง (หมู่ที่ 1,2)
ร้านค้า 51 แห่ง
ร้านขายยา ๑ แห่ง (หมู่ที่ 1)
ร้านวัสดุก่อสร้าง 2 แห่ง (หมู่ที่ 7)
อู่ซ่อมรถ 3 แห่ง (หมู่ที่ 1)
ร้านเสริมสวย 1 แห่ง (หมู่ที่ 1)
ร้านนวดแผนไทย อาหาร 1 แห่ง (หมู่ที่ 2)
ร้านรับซื้อปาล์ม 1 แห่ง (หมู่ที่ 7)
โรงเรือนต้นกล้าพันธ์ยาง 2 แห่ง (หมู่ที่ 2)
ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง 1 แห่ง (หมู่ที่ 2)
เสารับสัญญาณโทรศัพท์ 4 แห่ง
กลุ่มอาชีพ
มีกลุ่มอาชีพ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่
๑. กลุ่มจักรสานเตยปาหนัน หมู่ที่ 1
2. กลุ่มทำเครื่องแกง หมู่ที่ 1
3. กลุ่มทำขนม หมู่ที่ 7
4. กลุ่มผ้ามัดย้อม หมู่ที่ 3
6.8 แรงงาน
จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานด้านการเกษตรทำสวนยางพาราเป็นส่วนมาก
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 60%, อันดับรองลงมา คือศาสนาอิสลาม 40%
ศาสนสถานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลิพัง ดังนี้
วัด จำนวน ๒ แห่ง คือ
วัดทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งปาหนัน
วัดเขาติง หมู่ที่ ๕ บ้านท่าเขา
สำนักสงฆ์ 1 แห่ง คือ
สำนักสงฆ์บ้านหินจอก หมู่ที่ ๖
สถานที่ปฏิบัติธรรม 1 แห่ง คือ
สำนักสงฆ์ถ้ำแก้วพิสดาร หมู่ที่ 7
มัสยิด 3 แห่ง คือ
มัสยิดบ้านลิพัง หมู่ที่ 1 บ้านลิพัง
มัสยิดอัลมูบาร๊อค หมู่ที่ 1 บ้านลิพัง
มัสยิดกอรีบุ้ลญะบัล หมู่ที่ 5 บ้านเขาติง
บาลาย 3 แห่ง คือ
บาลายบ้านหน้าติง หมู่ที่ ๓ บ้านท่าคลอง
บาลายอัลอิคลาศ หมู่ที่ ๑ บ้านทางสาย
บาลายบ้านทอนโต๊ะหยี หมู่ที่ ๗ บ้านทางสาย
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
ลากพระ
ถือศีลอด
เดือนสิบ
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ เตยปาหนัน ยาสมุนไพร และตะกร้าหวาย
ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนมากพูดภาษาใต้
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมือง ได้แก่ ขนมเจาะรู เครื่องแกง ผลิตภัณฑ์จากเตยปาหนัน
ของที่ระลึก ได้แก่ โมเดลเรือพลีส
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ
แหล่งน้ำตามธรรมชาติในเขตตำบลลิพังมีแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 3 สาย คือ
- คลองลิพัง ไหลผ่าน หมู่ที่ 5,3,1,7 แล้วไหลลงทะเลอันดามัน
- คลองลำปะดง ไหลผ่าน หมู่ที่ 6,7 แล้วไหลลงทะเลอันดามัน
- คลองแร่ ไหลผ่าน หมู่ที่ 4,2 แล้วไหลลงทะเลอันดามัน
8.2 ป่าไม้
ในเขตตำบลลิพัง เป็นพื้นที่ป่าดิบชื้น ไม้เป็นไม้ยืนต้นไม่พลัดใบ มีพื้นที่ป่าชายเลน 14,739.72 ไร่
8.3 ภูเขา
ตำบลลิพังมีพื้นที่ติดกับเทือกเขาบรรทัด
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติ
ในเขตตำบลลิพัง มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ทำให้ก่อเกิดลำคลอง และน้ำตกหลายแห่ง ประกอบกับมีถ้ำที่สวยงาม อย่างเช่น ถ้ำเขาติง และมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์
0
สถิติจำนวนครัวเรือนและประชากร ตำบลลิพัง | |||||
ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2561 | |||||
หมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร | |||
ชาย | หญิง | รวม | |||
หมู่ที่ 1 บ้านลิพัง | 286 | 467 | 489 | 956 | |
หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งปาหนัน | 312 | 442 | 439 | 881 | |
หมู่ที่ 3 บ้านท่าคลอง | 220 | 383 | 441 | 824 | |
หมู่ที่ 4 บ้านคลองแร่ | 295 | 403 | 395 | 798 | |
หมู่ที่ 5 บ้านท่าเขา | 471 | 738 | 703 | 1,441 | |
หมู่ที่ 6 บ้านหินจอก | 216 | 318 | 329 | 647 | |
หมู่ที่ 7 บ้านทางสาย | 289 | 463 | 496 | 959 | |
ตำบลลิพัง | 2,089 | 3,214 | 3,292 | 6,506 | |
0
ข้อมูล ม.1-7
หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
ปั๊มน้ำมัน จำนวน 2 แห่ง หมู่ที่ 1,2
สถานประกอบการโรงแรม จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 2
สถานประกอบการรับซื้อยางพาราเศษยาง จำนวน 7 แห่ง หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7
สถานประกอบการรับซื้อปาล์มน้ำมัน จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 7
แปลงชำพันธุ์กล้ายาง จำนวน 3 แห่ง หมู่ที่ 2,5,7
สถานประกอบการล้างอัดฉีด จำนวน 2 แห่ง หมู่ที่ 2,3
ร้านบริการอินเตอร์เน็ต จำนวน 4 แห่ง หมู่ที่ 1,2,4,7
ฟาร์มเลี้ยงไก่ จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 3
ร้านเสริมสวย จำนวน 5 แห่ง หมู่ที่ 1,2,5,7
ร้านซ่อมรถ จำนวน 5 แห่ง หมู่ที่ 1,2,4,5,6
ร้านขายของชำ จำนวน 54แห่ง หมู่ที่ 1 – 7
เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 3 แห่ง หมู่ที่ 1,2,5
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด จำนวน 2 แห่ง คือ
วัดทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2 บ้านทุ่งปาหนัน
วัดเขาติง หมู่ที่ 5 บ้านท่าเขา
สำนักสงฆ์ ๓ แห่ง คือ
สำนักสงฆ์เทพคีรี หมู่ที่ 5
สำนักสงฆ์บ้านหินจอก หมู่ที่ 6
สำนักสงฆ์ถ้ำแก้วพิสดาร หมู่ที่ 7
มัสยิด 1 แห่ง คือ
มัสยิดบ้านลิพัง หมู่ที่ 1
บาลาย 4 แห่ง คือ
- บาลาย หมูที่ 3 บาลายท่าคลอง
- บาลาย หมูที่ 5 บาลายท่าเขา
- บาลาย หมูที่ 1 บาลายไร่ใหญ่
- บาลาย หมูที่ 7 บาลายทอนโต๊ะหยี
การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง คือ
- โรงเรียนบ้านลิพัง หมู่ที่ 7
- โรงเรียนบ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2
- โรงเรียนบ้านเขาติง หมู่ที่ 5
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหินจอก หมู่ที่ 6
ศูนย์เด็กเล็ก 3 แห่ง คือ
- ศูนย์เด็กเล็กบ้านลิพัง หมู่ที่ 7
- ศูนย์เด็กเล็กบ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2
- ศูนย์เด็กเล็กบ้านท่าเขา หมู่ที่ 5
ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง (หมู่ที่ 6)
โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง
รายชื่อโรงเรียน |
จำนวนนักเรียน |
||||
ก่อนประถม |
ประถมศึกษาปีที่ 1-6 |
รวม
|
|||
ชาย |
หญิง |
ชาย |
หญิง |
||
โรงเรียนบ้านลิพัง หมู่ที่ 7 |
25 |
28 |
89 |
80 |
222 |
โรงเรียนบ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2 |
7 |
9 |
32 |
15 |
62 |
โรงเรียนบ้านเขาติง หมู่ที่ 5 |
12 |
9 |
35 |
59 |
115 |
โรงเรียน ตชด.บ้านหินจอก หมู่ที่ 6 |
16 |
8 |
21 |
15 |
60 |
ศูนย์เด็กเล็ก ๓ แห่ง
ศูนย์เด็กเล็ก |
จำนวน (คน) |
||
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
บ้านลิพัง หมู่ที่ 7 |
23 |
25 |
48 |
บ้านทุ่งปาหนัน หมู่ที่ 2 |
13 |
8 |
21 |
บ้านท่าเขา หมู่ที่ 5 |
20 |
13 |
33 |
สาธารณสุข
สถานีอนามัยตำบล จำนวน 1 แห่ง หมู่ที่ 7 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 5 คน
อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100 %
อสม. จำนวน 102 คน สัดส่วนอาสาสมัครสาธารณสุข ต่อหลังคาเรือน 1:14
อัตราการเกิด จำนวน 6.39 ต่อประชากรพันคน
อัตราการตาย จำนวน 4.60 ต่อประชากรพันคน
ผู้ป่วย จำนวน 4,287 คน (1 ต.ค. 54 – 30 มิ.ย. 55)
ผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 29 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 61 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 24 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ป่วยโรคเลบโตสไปโรซีส จำนวน 7 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ป่วยโรควัณโรค จำนวน 8 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก จำนวน 7 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จำนวน 9 ราย (ปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๖)
ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ จำนวน 13 ราย (ที่มีชีวิตอยู่)
- หมู่ที่ 1 จำนวน 1 ราย
- หมู่ที่ 2 จำนวน 1 ราย
- หมู่ที่ 3 จำนวน 3 ราย
- หมู่ที่ 5 จำนวน 1 ราย
- หมู่ที่ 6 จำนวน 3 ราย
- หมู่ที่ 7 จำนวน 4 ราย
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ป้อมยามตำบลลิพัง ตำรวจชุมชน 1 แห่ง(สายตรวจย่อยตำบล) หมู่ที่ 1
อปพร. ตำบลลิพัง จำนวน 116 คน
การคมนาคม
ถนนลาดยาง(สายหลัก คือสายทางหลวงหมายเลข 416 ตรัง-สตูล) จำนวน 1 สาย
ถนนสายรอง(ลาดยาง) จำนวน 2 สาย
ถนนลูกรัง จำนวน 29 สาย
ถนนคอนกรีต จำนวน 11 สาย
ถนนหินคลุก จำนวน 5 สาย
การโทรคมนาคม
ที่ทำการไปรษณีย์ จำนวน – แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 7 แห่ง
หอกระจายข่าว จำนวน 7 แห่ง
เสียงไร้สาย จำนวน 1 แห่ง
แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
ประปาตามพระราชดำริ 1 แห่ง (หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7)
ประปาอนามัย 1 แห่ง (หมู่ที่ 1,3)
ประปาหอถังสูง 6 แห่ง (หมู่ที่ 1,2,3,4,5,7)
ประปาภูเขา จำนวน 1 แห่ง (หมู่ที่6)
บ่อโยก 2 แห่ง (หมู่ที่ 1)
ฝาย 3 แห่ง (หมู่ที่ 2,5,7)
บ่อน้ำตื้น 11 แห่ง (หมู่ที่ 1,2,4,6)
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
ทรัพยากรดิน สภาพดินเป็นดินร่วนเหมาะแก่การเพาะปลูก
ทรัพยากรแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 สาย คือ
- คลองลิพัง ไหลผ่าน หมู่ที่ 5,3,1,7 แล้วไหลลงทะเลอันดามัน
- คลองลำบาดง ไหลผ่าน หมู่ที่ 6,7 แล้วไหลลงทะเลอันดามัน
- คลองแร่ ไหลผ่าน หมู่ที่ 4,2 แล้วไหลลงทะเลอันดามัน
พื้นที่ป่าไม้
พื้นที่ป่าชายเลน (14,839.82 ไร่)
มวลชนจัดตั้ง
ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น
ประชาคมหมู่บ้าน/ตำบล
อสม.
สถานที่ท่องเที่ยว
ถ้ำเขาติง หมู่ที่ 5
น้ำตกธารกระจาย หมู่ที่ 5
น้ำตกวังแก้ว หมู่ที่ 6
แหลมทวด หมู่ที่ 2
น้ำตกคลองลิพัง หมู่ที่ 5
น้ำตกห้วยแทงแม่ หมู่ที่ 5
น้ำตกคลองหินแดง หมู่ที่ 5
0